ReadyPlanet.com
dot
dot
English Site
dot
bulletThe Little Gym Rama 3
bulletProgram Benefits
bulletPrograms and Service
bulletClass Schedule
bulletPhoto Gallery
bulletAbout Us
bulletContact Us
bulletWebsite Map




พ่อแม่มือใหม่ vs เ้ด็กงอแง article

ทำไมถึงงอแง

อาการงอแงเป็นเรื่องปกติในวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 1-3 ขวบ แต่เด็กโตบางคนก็มีเหมือนกัน อาการงอแงเกิดขึ้นเพราะความกังวล เด็กๆ อายุ 1-3 ขวบกำลังเรียนรู้เรื่องการใช้ภาษาและท่าทาง เด็กๆ จะรู้สึกกังวลว่าจะไม่รู้จะแสดงความต้องการของตัวเองออกมาอย่างไร ความโกรธ ความผิดหวังและความโกรธควบคุมได้ยากสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ
ต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มรู้จักความว่า "ไม่" แล้ว

เด็กบางคนขี้งอแงสุด ๆ

เด็กหลายๆ คนจะงอแงก็เมื่อมีเหตุการณ์อะไรบางอย่างมากระตุ้น แต่ก็มีอีกหลายคนที่งอแงแบบไม่มีปี่มีขลุย ต่อไปนี้เป็นสาเหตุสุดฮิตที่เป็นฉนวนให้เด็กงอแง

เด็กบางคนขี้กลัวมากกว่าเด็กคนอื่นๆ บางที่อาจเป็นเพราะเด็กเหล่านั้นพูด วิ่ง ปีนป่ายได้ไม่เก่งเท่าเด็กคนอื่นๆ

ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เด็กบางคนเป็นคนอ่อนไหวง่าย ดิ้อ หรือไม่ยอมรับความผิดหวังมากกว่าเด็กคนอื่นๆ

เด็กบางคนต้องการแค่เรียกร้องความสนใจ ความสนใจจากการงอแงไม่ได้เป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการอยากจะได้รับ แต่มันก็ได้รับความสนใจอยู่ดี

งอแงแล้วได้ผล ถ้าเราโวยวายแล้วได้สิ่งที่เราต้องการเสมอ เราก็คงทำอย่างนั้นเหมือนกัน

จะป้องกันหรือลดอาการงอแงได้อย่างไร

หลักการสำคัญคือเราต้องรู้ว่าอะไรทำให้ลูกงอแง ลองวิธีต่อไปนี้ดูนะครับ

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้งอแง เช่น เลือกช่องที่ไม่มีขนนขายตอนจ่ายเงินหลังซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปซื้อของเล่นตอนลูกไม่อยู่ และอย่าพาลูกๆ ไปเที่ยวจนให้ลูกเหนื่อยหรือหิวมากๆ (ถ้าลูกเป็นคนโมโหหิว ให้เตรียมขนมขบเคี้ยวเผื่อไปด้วย)
  • มีเวลาดีๆ ร่วมกัน เจียดเวลาสักเล็กน้อยทุกวันเพื่อกอดและเล่นกับลูก (เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม ด้วยกัน) ถึงแม้จะไม่ได้ช่วยป้องกันอาการงอแงได้ 100% แต่ก็เป็นวิธีการสร้างความผูกพันในครอบครัวที่ดี
  • ปล่อยให้ลูกควบคุมสถานการณ์ แต่จริงๆ แล้วเราจะต้องควบคุมลูกอีกที ถ้าทำได้ เสนอทางเลือกให้ลูก เช่น แทนที่จะบอกว่า "ไปแต่งตัวได้แล้ว" ลองพูดประมาณว่า "วันนี้จะกางเกงหรือชุดกระโปรงดี" แทนที่จะบอกว่า "ไปนอนกันได้แล้ว" ลองพูดทำนองว่า "เราอ่านนิทานเรื่องไหนดีก่อนนอน จะเอา เด็กเลี้ยงแกะ หรือ เจ้าหญิงนิทรา" (ให้เลือกแค่ 2 ตัวเลือกก็พอครับ) เมื่อเราพูดแบบนี้ เด็กจะได้ไม่รู้สึกว่าเราเป็นจอมบงการ และอาจจะรู้สึกต่อต้านเราน้อยลง
  • เบี่ยงเบนความสนใจ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่ามันได้ผล ถ้าเราทำตั้งแต่เพิ่งเริ่มออกอาการงอแง ถ้าลูกเริ่มออกอาการงอแงหลังจากที่ไม่ได้เล่นของเล่นที่อยากเล่น ให้ลองหาเรื่องอื่นเข้ามา แล้วทำให้มันดูน่าตื่นเต้น (โฮ้โห ดูเกมนั้นสิ มีเต๋าบินได้ด้วย เห็นไหมลูก!) หรือให้รีบชวยไปเล่นม้าลื่นทันทีเมื่อเห็นว่าชิงช้าตัวสุดท้ายมีคนนั่งไปแล้ว เราจะต้องใช้การที่เด็กยังมีสมาธิสั้นน้นให้เป็นประโยชน์

ถ้าทำทุกอย่างแล้วยังช่วยไม่ได้ อย่าเพิ่งหัวเสียครับ ตอนนี้เป็นวิธีการรับมือ

  • หายใจเข้าลึกๆ เพราะถ้าเรายิ่งโกรธ เรื่องก็จะไปกันใหญ่
  • อย่านึกยอมแพ้ เพราะการให้สิ่งที่เด็กอยากได้นั้นเป็นการแก้ปัญหาแบบตัดรำคาญ แต่นั้นจะทำให้เด็กรู้ว่างอแงแล้วจะได้ผล
  • ปล่อยให้ร้องออกมาให้พอ ในที่ที่ปลอดภัย ถ้างอแงในห้างฯ เพราะอยากได้ของเล่นแพงๆ ให้อุ้มกลับบ้านไปเลย (ต้องยอมเสียดายเวลาที่เราจะไม่ได้ดูอย่างอื่น) หรือถ้าเป็นเด็กโตหน่อย ก็ให้กลับไปที่ห้อตัวเอง พร้อมบอกให้รู้ว่า สงบสติอารมณ์ได้แล้วค่อยออกมา
  • กอดแน่นๆ เมื่อเด็กหยุดงอแง บางทีเด็กอาจจะรู้สึกแปลกๆ เวลาโกรธ และรู้ดีว่าทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่พอใจ การกอดจะทำให้เด็กรู้ว่าเรายังรักเขาอยู่ และเราภูมิใจในตัวเขาที่หยุดทำตัวงอแงได้แล้ว

จริงๆ แล้วอาการงอแงเป็นเรื่องปกติ และจะหายไปเมื่อเด็กอายุมากขึ้น แต่น่าจะพาเด็กไปพบแพทย์ถ้า

  • อาการงอแงเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น และ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
  • เด็กจะเรียนจบชั้นประถมแล้ว ยังงอแงไม่เลิกซะที
  • เด็กทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นเวลางอแง
  • เรากังวลว่าจะมีการผิดปกติในด้านการพัฒนาการ
  • อาการงอแงรุนแรงจนทำให้เราอยากจะลงไม้ลงมือกับเด็ก ...





เรื่องเล่าสัปดาห์นี้

การรอคอย
How to Raise a Leader! article
Citizen Kids! article
Brain Boost! article
WHY 3 ?? article
6 Reason to put your self and your kids in Gymnastics. article
ค้นหาศักยภาพแฝงผ่านลายนิ้วมือ article
เสริมสร้างกล้ามเนื้อมือด้วยแป้งโดว์ article
Silver Nano อีกหนึ่งอาวุธกำจัดเชื้อโรค article
5 โรคยอดฮิตสำหรับเด็ก ๆ วัยเรียน article
ดูดจุ๊บ ดีกว่า ดูดนิ้ว ? article
เมื่อลูกเป็นไข้ ทำงัยดี article
เตรียมตัวรับน้องใหม่ ตอนจบ article
เตรียมตัวรับน้องใหม่ ตอนแรก article
จัดระเบียบ (วินัย) ลูกรัก ตอนจบ article
จัดระเบียบ (วินัย) ลูกรัก ตอนแรก article
การหลับ (ไม่ตื่น) ในเด็กทารก article
อัจฉริยะสร้างได้ ตอนจบ article
อัจฉริยะสร้างได้ ตอนแรก article
ทำโทษลูกอย่างไร ไม่ให้ Hurt article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
The Little Gym Rama 3
7th Floor Glass Elevator Section
Central Plaza Ratchada Rama 3 , Bangkok
Take the Glass Elevator to 6th Floor
Take the Escalator to 7th Floor
Tel. 0-2673-5957 , 0-2211-9397