ReadyPlanet.com
dot
dot
English Site
dot
bulletThe Little Gym Rama 3
bulletProgram Benefits
bulletPrograms and Service
bulletClass Schedule
bulletPhoto Gallery
bulletAbout Us
bulletContact Us
bulletWebsite Map




การหลับ (ไม่ตื่น) ในเด็กทารก article

มาค้นหาคำตอบกัน

SIDS เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอย่างฉับพลัน และไม่สามารถอธิบายได้ ในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี สิ่งที่ทำให้มันน่ากลัวก็คือ มันเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญานบอกล่วงหน้า ต่อให้เป็นเด็กที่แข็งแรงก็เถอะ การเสียชีวิตด้วย SIDS มันเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (เรียกกันเล่น ๆ ว่า เตียงมรณะ) และไม่แสดงอาการใด ๆ

การนอนคว่ำ

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก็เห็นจะเป็น การให้เด็กนอนคว่ำ มีการศึกษาหลาย ๆ ครั้งระบุว่า SIDS มีโอกาสเกิดขึ้นในเด็กที่นอนคว่ำ มากกว่าเด็กที่นอนหงาย หรือนอนตะแคง นักวิจัยบางคนตั้งสมมติฐานว่า การนอนคว่ำนั้นทำให้เกิดการกดทับบริเวณของเด็ก ทำให้การไหลเวียนของอากาศแคบลง และหายใจลำบากขึ้น

อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า การนอนคว่ำ ทำให้เด็กมาโอกาสที่จะหายใจเอาอากาศที่พึ่งหายใจออกกลับเข้าไปใหม่ โดยเฉพาะในเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่ม ๆ หรือ มีเครื่องนอน ตุ๊กตา หรือ หมอนอยู่ใกล้ ๆ ใบหน้า ด้วยพื้นผิวที่นิ่มยวบ ทำให้เกิดแอ่งเล็ก ๆ บริเวณปากของเด็ก และ กักเก็บอากาศที่หายใจออกมา เมื่อเด็กหายใจเอาอากาศที่หายใจออกกลับเข้าไป ระดับอ็อกซิเจนก็จะต่ำลง และคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ก็จะสะสมมากขึ้น ในที่สุดแล้ว การขาดอ็อกซิเจนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิด SIDS ได้

ก็อาจจะเป็นไปได้อีกว่า เด็กทารกมีความผิดปกติในเซลสมอง ที่ช่วยในการควบคุมการหายใจ และ การตื่นนอน ถ้าเด็กหายใจเอาอ็อกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ สมองก็จะปลุกให้เด็กตื่น และ ร้องไห้ การตื่นและร้องไห้นั้นเปลี่ยนระบบการหายใจ และ อัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อเป็นการชดเชยการขาดอ็อกซิเจน แต่เด็กที่มีปัญหาในเซลสมอง จะไม่สามารถทำแบบนั้นได้

มานอนหงายกันเถอะ

บรรดาแพทย์เด็ก และ ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน แนะนำให้เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ที่ร่างกายแข็งแรงดี ควรจะนอนหงาย การนอนหงาย ทำให้อัตราการเกิด SIDS นั้นลดลงกว่า 50% ทีเดียว อย่างไรก็ตาม SIDS ก็ยังคงเป็นสาเหตุหลัก ๆ ในการเสียชีวิตของเด็กทารก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จึงควรคำนึงถึงความสำคัญในการนอนหงายอยู่เสมอ

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจกลัวว่า การให้เด็กนอนหงาย จะทำให้ลูกไอและอาเจียน จากการวิจัยพบว่า การนอนหงาย ไม่ได้เพิ่มโอกาสที่ทำให้เด็กไอ ยกเว้นเด็กที่มีอาการกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ (Gastroesophageal Reflux Disease ชื่อย่อว่า GERD) หรือ ระบบการหายใจไม่ปกติ อันนี้การนอนคว่ำอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาท่านอนที่เหมาะสม

การให้ลูกนอนตะแคง ก็ใช้ว่าจะปลอดภัยเสมอไป เนื่องจากก็มีโอกาสที่เด็ก จะกลิ้งตัวกลับไปอยู่ในท่านอนคว่ำ ตอนที่กำลังหลับอยู่ก็เป็นได้

คุณพ่อคุณแม่บางท่าน ก็อาจกังวลในเรื่องสรีระของศรีษะ ว่าจะทำให้เด็กมีศรีษะแบน เนื่องจากการนอนหงาย แต่มันก็มีวิธีแก้ไขอย่างง่าย ๆ โดยการเปลี่ยนท่านอนเด็กบ่อย ๆ และ ก็ปล่อยให้เด็ก อยู่ในท่านอนคว่ำเยอะ ๆ เวลาเล่น

แน่นอน เมื่อเด็ก ๆ สามารถกลิ้งตัวเองได้อย่างคล่องแคล่ว โดยทั่วไปก็อายุประมาณ 4 - 7 เดือน พวกเขาอาจจะไม่นอนหงายตลอดคืน เมื่อถึงเวลานั้น เด็ก ๆ จะเลือกท่านอนที่เข้าล็อกของพวกเขาเอง

เคล็ดลับในการลดความเสี่ยงการเกิด SIDS

นอกจากการให้เด็กนอนหงายแล้ว ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิด SIDS เช่น

  • ให้เด็กนอนบนเตียงที่ค่อนข้างแข็งหน่อย ไม่ต้องหนุนหมอน หรือ นอนบนพื้นผิวที่ไม่นุ่มยวบ เพื่อป้องกันการหายใจอากาศที่หายใจออกกลับเข้าไปใหม่ อย่านำผ้าห่มหนา ๆ ตุ๊กตา ของเล่น หรือ หมอนมาวางใกล้ ๆ ใบหน้าเด็ก
  • ต้องแน่ใจว่าเด็กไม่อบอุ่นเกินไปเวลานอน ควรปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ที่ ผู้ใหญ่สามารถสวมเสื้อแขนสั้น นอนได้ด้วยความรู้สึกสบาย ๆ เด็กที่นอนในที่ที่อบอุ่นเกินไป จะหลับลึก ทำให้ปลุกยากเมื่อจำเป็น
  • ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ ใช้ยาสุ่มสี่สุ่มห้า ในขณะตั้งครรภ์ และ หลีกเลี่ยงลูกจากคนที่สูบบุหรี่ เด็กที่เกิดจากแม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิด SIDS มากกว่าเด็กที่เกิดจากแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า การสูบบุหรี่ ทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์ จะมีผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลางของเด็ก ซึ่งทำให้อัตราความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
  • เข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัด
  • พาเด็กไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้เด็กดื่มนมแม่ถ้าทำได้ การดื่มนมแม่ อาจช่วยลดการเกิด SIDS ได้ ถึงแม้ว่ายังไม่มีเหตุผลแน่ชัดว่าทำไม แต่นมแม่ ช่วยป้องกันเด็กทารกจากการติดเชื้อบางตัว ที่อาจทำให้เกิด SIDS
  • ถ้าเด็กมีอาการ GERD ขอคำแนะนำจากแพทย์ ในเรื่องของท่าการป้อนอาหาร และท่านอนที่เหมาะสม
  • ให้เด็กดูดจุ๊บระหว่างขวบปีแรก ถ้าเด็กไม่ชอบดูดจุ๊บ ก็ไม่ต้องบังคับ จุ๊บนั้นลดความเสี่ยงจากการเกิด SEDS ได้
  • ในขณะที่นำเด็ก มานอนที่เตียงคุณพ่อคุณแม่เพื่อกล่อม เมื่อลูกหลับสนิทแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรนำเด็กกลับไปนอนที่เตียงของเขาเอง ทางที่ดีควรนำเตียงเด็ก มาไว้ในห้องเดียวกับห้องที่คุณพ่อคุณแม่นอน การทำเช่นนี้ก็สามารถลดความเสี่ยงจาก SIDS ได้เหมือนกัน

เตียงมรณะนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ ครอบครัว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจาก SIDS อย่าลืมนำเคล็บลับที่นำมาเสนอในครั้งนี้ไปใช้ ปลอดภัยไว้ก่อนนะครับ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าครับ ... 




เรื่องเล่าสัปดาห์นี้

การรอคอย
How to Raise a Leader! article
Citizen Kids! article
Brain Boost! article
WHY 3 ?? article
6 Reason to put your self and your kids in Gymnastics. article
ค้นหาศักยภาพแฝงผ่านลายนิ้วมือ article
เสริมสร้างกล้ามเนื้อมือด้วยแป้งโดว์ article
Silver Nano อีกหนึ่งอาวุธกำจัดเชื้อโรค article
5 โรคยอดฮิตสำหรับเด็ก ๆ วัยเรียน article
ดูดจุ๊บ ดีกว่า ดูดนิ้ว ? article
พ่อแม่มือใหม่ vs เ้ด็กงอแง article
เมื่อลูกเป็นไข้ ทำงัยดี article
เตรียมตัวรับน้องใหม่ ตอนจบ article
เตรียมตัวรับน้องใหม่ ตอนแรก article
จัดระเบียบ (วินัย) ลูกรัก ตอนจบ article
จัดระเบียบ (วินัย) ลูกรัก ตอนแรก article
อัจฉริยะสร้างได้ ตอนจบ article
อัจฉริยะสร้างได้ ตอนแรก article
ทำโทษลูกอย่างไร ไม่ให้ Hurt article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
The Little Gym Rama 3
7th Floor Glass Elevator Section
Central Plaza Ratchada Rama 3 , Bangkok
Take the Glass Elevator to 6th Floor
Take the Escalator to 7th Floor
Tel. 0-2673-5957 , 0-2211-9397